Tuesday, April 01, 2008

ส่วนประกอบสำคัญ........

เอาที่ถือเป็นหัวใจกับสมองของระบบก่อนนะ......

อันแรกคือ Clinical information มันแยะซะจนต้องกลายเป็นวิชาใหม่ เรียกว่า Clinical informatics ประกอบด้วยวิชาย่อยๆ มากมาย จุดอ่อนในการจัดการเรื่องเกี่ยวกับ Clinical information อย่างแรกคือ "เรื่องที่ต้องการไม่ได้เก็บ...เรื่องที่เก็บไม่ได้ต้องการ !!!" เราใช้ POMR กับการแจกแจง Problem list อย่างเป็นระบบมาช่วย....และถ้าจะเปรียบ Clinical information เป็นหัวใจ กลไกของ POMR กับ Problem list ก็เป็นกล้ามเนื้อหัวใจกับหลอดที่มาเลี้ยง นั่นเอง.....จุดอ่อนอันที่ 2 คือTreatment planning ไปจนจบคือ ตั้งแต่เริ่ม วินิจฉัยแยกโรค วินิจฉัย วางแผนรักษา ให้การรักษา รวมการจัดการ Complication ที่อาจเกิดขึ้น ไปถึง Maintenance ปัญหาคือเป็นขั้นตอนที่ต้องผ่านกระบวนการ Clinical decision making ซึ่ง แม้จะมี Expert system ให้เราเห็นกันมากขึ้น แต่ก็ยังห่างไกลเมื่อเทียบกับคน...ในจุดนี้ เราใช้ perioperative evaluation เข้ามาช่วยเสริมตอนต้น การเก็บข้อมูลลงในรูปแบบของ Coding ต่างๆที่เราใช้กันอยู่ก็จัดอยู่ในอุปกรณ์เสริมเช่นกัน (ซึ่งขณะนี้ก็เป็นเรื่องปวดสมองกันอยู่ทุกที่ ที่พิเศษคือของบ้านเรา....ด้วยหลัก...ตามใจฉัน.....อยากเพิ่มอะไรใน coding system ก็เพิ่ม ทำให้บ้านอื่นๆเขางงว่าเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์กันแน่ เพราะฉะนั้นจะเชื่อมโยงกันลำบากถ้ายังทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ) จุดอ่อนที่ 3 คือinformation devided ซึ่งมักเกิดมากแถวบริเวณที่มีคนมีปมด้อยอยู่แยะๆ พวกนี้ให้บอกอะไรก็บอกไม่ได้ มีคนรู้กว่าบอกให้ก็ว่าเขา....บางที่รุมทำลายคนที่รู้กว่าเลย ตรงนี้ถ้าจะให้บ่นคงยาวววววววว....จุดอ่อนที่ 4 คือ ในความหลากหลาย...อันไหนจะเชื่อได้มากกว่า ตรงนี้โชคดีมี Evidence-based ฯ มาช่วยแล้ว......พักเรื่องนี้ไว้ตรงนี้ก่อน

ส่วนที่เทียบเคียงได้กับสมองเรียกว่า Knowledge Organization Systems ประกอบด้วยเรื่องของ thesauri, glossaries, authority files, classification schemes, subject categorization schemes, Metadata อีกมากมาย....เห็นแค่นี้ก็กุมขมับดมยาดมท่านเจ้าคุณแล้วใช่มั้ย......ไม่ต้องตกใจเรามีวิธีแก้ โปรดติดตามชมตอนต่อๆ ไป

Sunday, March 30, 2008

การพัฒนาต้นแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้าน Clinical Dentistry

การพัฒนาต้นแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้าน Clinical Dentistry เพื่อเป็นพื้นฐานพัฒนาการขั้นสูงกว่าต่อไปนั้น ต้องมีองค์ประกอบอีกอย่างน้อย 4 อย่าง คือ

1. กิจกรรมของ knowledge management
2. การพัฒนาวงจร routine to research ด้าน Dental practice
3. การจัดทำ Repository ขององค์ความรู้และนวัตกรรมด้านทันตกรรม
4. การวางกลยุทธ์ที่สอดคล้องขององค์กร เช่น Performance excellent, Blue Ocean เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ทำไปด้วยกัน หรือทำไปพร้อมๆกันก็ได้ ไม่ได้ต้องรออันใดอันหนึ่งเสร็จสมบูรณ์ก่อน

ที่ยากคือการจัดหาส่วนประกอบย่อยๆ ขององค์ประกอบทั้ง 4 อย่างนั้น โดยเฉพาะองค์ประกอบที่ 3 ที่ต้องเริ่มจากความรู้ทางทันตกรรมโดยตรง แล้วบูรณาการเข้ากับความรู้ด้านอื่นๆ....(ซึ่งหากคนบางกลุ่มที่มีบทบาทหน้าที่บางอย่างไม่ตระหนักถึงและยังไม่ยอมมองให้กว้างขึ้นเหมือนเดิมๆ ก็จะถ่วงให้นวัตกรรมทางทันตกรรมในส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้นได้ยากและต้องคอยพึ่งพิงต่างประเทศตลอดไป...) .....กับที่ยากอีกเรื่องคือ เรื่องของวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารองค์กร ที่มักเปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร (บางแห่งผู้บริหารคนเดิมก็จริงแต่ก็โลเลเปลี่ยนไปไปมามา)

กลยุทธ์ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมอยู่เสมอก็จริง แต่ถ้าไม่มีเจ้าพวกส่วนประกอบย่อยๆ ขององค์ประกอบ 3-4 ข้อนั้นแล้วไซร้ ก็เป็นอันเอวัง หรือทำได้แค่แบบ ท่าน....คนนั้นไง

เอาล่ะแล้วคราวหน้าเราจะมาดูเจ้าส่วนประกอบย่อยๆเหล่านั้นว่ามีอะไรกันบ้าง เป็นส่วนๆ ทีละอันต่อไป